แฟ้มสะสมงานการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เทอม 2/55
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่7
อาจารย์ให้ส่งวงกลมที่ได้สั่งอาทิตย์ที่แล้วมาส่ง พร้อมเซ็นชื่อด้านหลัง มีเพื่อนบางคนทำมาผิดอาจารย์ให้กลับไปทำมาใหม่ เพราะถือว่าไม่มีความรับผิดชอบ
กรอบมาตราฐาน โดย สสวท.
มาตราฐานที่ 1 จำนวนและดำเนินการ
เป็นความหลากหลายรู้ถึงค่าและดำเนินการ
มาตราฐานที่ 2 การวัด
การใช้เครื่องมือเ่พือหาค่าหรือปริมาณ ทั้งน้ำหนัก ส่วนสูง เงิน
มาตราฐานที่ 3 เรขาคณิต
ตำแหน่งทิศทางและระยะทาง ตำแหน่ง = หน้า หลัง นอก ใน ทิศทาง =
ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ระยะทาง = ใกล้ ไกล
และต้องรวมรูปทรงเลขาคณิตด้วย
มาตราฐานที่ 4 พีชคณิต
การเข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ แบบรูปคือ แบบที่เขากำหนดแล้วให้เราทำตามแบบ
มาตราฐานที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
การรวบรวมข้อมูลต่างๆที่จะคำนาณ
วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่6
เนื่องจากดิฉันกลับบ้าน จึงไม่ได้มาเรียน
พอทุกกลุ่ม ประกอบกล่งเสร็จแล้วทุกกลุ่ม อาจารย์ก็ให้ยกไปวางที่่โต๊ะของอาจารย์ แล้วถามว่าสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาคืออะไร สามารถสอนอะไรเด็กได้บ้าง ไม่ใช่ให้ทำแบบไร้ประโยชน์ สิ่งที่สามารถสอนเด็กได้คือ เรื่องของ ขนาด การจำแนก การจัดลำดับ การเปรียบเทียบและอาจารย์ ก็ให้นำงานที่ทุกกลุ่มทำขึ้นมา ประกอบรวมกันจะเป็นนิทรรศกาล ว่าจะจัดออกมาเป็นรูปแบบไหน
ครั้งที่1 จากการจัดนิทรรศกาล อาจารย์ได้บอกข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข คือ มันห่างกัน แล้วทางเดินการเข้างานก็ไม่มี
ครั้งที่ 2 เพื่อนๆร่วมกันคิด แก้ไขอีกครั้ง แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องอีกเล้กน้อย เกี่ยวกับทางเดินเข้างาน และทางรถไฟ
ครั้งที่ 3 อาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมในการแนะนำข้อบกพร่องว่าควรจะแก้ไขแบบไหน และนี้คือ ครั้งที่ สมบูรณ์แบบแล้ว อาจารย์ลงมาให้คำแนะนำหลังจากนั่น เราก็ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อยเหมือนเดิม จัดแจกจำแนกของกล่องแต่ละประเภท
เมื่อเก็บอุปกรณ์เสร็จสิ้นหมดแล้ว
อาจารย์ก็มาสรุปผลจากการทำกิจกรรมครั้งนี้
ว่าเราสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัยอย่างไร ใช้แบบไหน
แล้วสามารถสอนเกี่ยวกับเรื่องอะไรให้เด็กได้บ้าง
เนื้อหาที่เรียนในวันนั้นมีดังนี้
อาจารย์ให้ไปหยิบกล่องมาคนละ 1 กล่อง ซึ่งกล้องมีสภาพไม่สมบูรณ์ให้เรานำมาประกอบเอง โดยใช้กาวติดกล่องให้เป็นรูปที่สมบูรณ์ และนำกล่องที่นำพับได้ ไปรวมกับของเพื่อน อีก 1 คน
หลังจากรวมกับเพื่อน 2 คนแล้ว ก็นำไปรวมกับเพื่อนกลุ่มใหญ่ 10 คน ให้ประกอบรวมกันเป็นรูปอะไรก็ได้
พอทุกกลุ่ม ประกอบกล่งเสร็จแล้วทุกกลุ่ม อาจารย์ก็ให้ยกไปวางที่่โต๊ะของอาจารย์ แล้วถามว่าสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาคืออะไร สามารถสอนอะไรเด็กได้บ้าง ไม่ใช่ให้ทำแบบไร้ประโยชน์ สิ่งที่สามารถสอนเด็กได้คือ เรื่องของ ขนาด การจำแนก การจัดลำดับ การเปรียบเทียบและอาจารย์ ก็ให้นำงานที่ทุกกลุ่มทำขึ้นมา ประกอบรวมกันจะเป็นนิทรรศกาล ว่าจะจัดออกมาเป็นรูปแบบไหน
ครั้งที่1 จากการจัดนิทรรศกาล อาจารย์ได้บอกข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข คือ มันห่างกัน แล้วทางเดินการเข้างานก็ไม่มี
ครั้งที่ 2 เพื่อนๆร่วมกันคิด แก้ไขอีกครั้ง แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องอีกเล้กน้อย เกี่ยวกับทางเดินเข้างาน และทางรถไฟ
ครั้งที่ 3 อาจารย์เข้ามามีส่วนร่วมในการแนะนำข้อบกพร่องว่าควรจะแก้ไขแบบไหน และนี้คือ ครั้งที่ สมบูรณ์แบบแล้ว อาจารย์ลงมาให้คำแนะนำหลังจากนั่น เราก็ช่วยกันเก็บของเข้าที่ให้เรียบร้อยเหมือนเดิม จัดแจกจำแนกของกล่องแต่ละประเภท
หมายเหตุ** คัดลอกเนื้อหามาจาก นางสาว วรรณพร จินดาพรหม
วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่5
ไม่มีการสอนเนื่องจาก หยุด วันพ่อ
ประวัติความเป็นมา
วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523
โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต
นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริเริ่ม
หลักการและเหตุผลที่มีการจัดตั้งวันพ่อ เนื่อง จากพ่อ
เป็นบุคคลผู้มีพระคุณและมีบทบาทสำคัญต่อครอบครัวและสังคม
สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนและตอบ แทนพระคุณด้วยความกตัญญู
และสังคมควรที่จะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5
ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ"
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างนานัปการ
อีกทั้งยังทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและ
พระราชธิดาที่ทรงรักใคร่ห่วงใย ตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน
และพระเจ้าหลานเธอทุก ๆ พระองค์ต่างซาบซึ้ง
ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ"
ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระ เมตตากรุณา
ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้ พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ด้านการศึกษา |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้งมูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษา หาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่าง ๆ โดยไม่มีเงื่อนไขข้อผูกพันแต่ประการใด เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้น ๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป H.M.K picture นอกเหนือไปจากนี้แล้ว ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการจัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนขึ้น สารานุกรมชุดนี้ มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสารานุกรมชุดอื่น ๆ ที่ได้เคยจัดพิมพ์มาแล้ว กล่าวคือ เป็นสารานุกรมอเนกประสงค์ที่บรรจุเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นสาระไว้ครบทุกแขนงวิชา โดยจัดแบ่งเนื้อหาของแต่ละเรื่องออกเป็นสามระดับ เพื่อที่จะให้เยาวชนแต่ละรุ่น ตลอดจนผู้ใหญ่ที่มีความสนใจ สามารถที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ได้ตามความเหมาะสมของพื้นฐานความรู้ ของแต่ละคน โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชา การอุทิศเวลาและความรู้ เพื่อสนองพระราชดำริ โดยร่วมกันเขียนเรื่องต่าง ๆ ขึ้น แบ่งออกเป็น 4 สาขาวิชา คือ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทรงก่อตั้งกองทุนนวฤกษ์ ในมูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลน ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ทั้งยังพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นทุนริเริ่มในการก่อสร้างโรงเรียนตามวัดในชนบท สำหรับที่จะสงเคราะห์เด็กยากจนและกำพร้า ให้ได้มีสถานที่สำหรับศึกษาเล่าเรียน โดยอาราธนาพระภิกษุเป็นครูสอนในวิชาสามัญต่าง ๆ ที่ไม่ได้ขัดต่อพระธรรมวินัย ตลอดจนช่วยอบรมศีลธรรมแก่เด็กนักเรียน ทั้งนี้ เป็นพระราชประสงค์ที่จะให้เด็กนักเรียน ได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับการศึกษาควบคู่กันไป อันจะทำให้เยาวชนของชาติ นอกจากจะมีความรู้ด้านวิชาการแล้ว ยังจะทำให้มีจิตใจที่ดี ที่ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม เพื่อที่จะได้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติต่อไป ในอนาคต โรงเรียนร่มเกล้า ก็เป็นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในหลายจังหวัดที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริ ที่จะให้ทหารออกไปปฏิบัติภารกิจในท้องที่ทุรกันดาร ได้ทำประโยชน์ต่อชุมชน และมีส่วนช่วยเหลือประชาชนในด้านการศึกษา ตามโอกาสอันควร โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ทหารจัดสร้างโรงเรียนขึ้นในจังหวัดนครพนม จังหวัดสกลนคร จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสถานศึกษาสำหรับเยาวชน และยังเป็นการส่งเสริมความเข้าใจอันดี ระหว่างเจ้าหน้าที่ทหารที่ไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่นั้น ๆ กับราษฎรเจ้าของท้องที่อีกโสตหนึ่งด้วย ซึ่งในการดำเนินงานจัดสร้างโรงเรียน ทางฝ่ายทหารได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และฝ่ายศึกษาธิการ เพื่อเลือกสถานที่ตั้งโรงเรียนที่เหมาะสมกับความจำเป็นที่สุด ซึ่งปรากฎว่าราษฎรในท้องที่ที่มีการสร้างโรงเรียน ได้พากันร่วมอุทิศแรงกายช่วยในการก่อสร้าง ตลอดจนอุทิศทุนทรัพย์สมทบเป็นทุนในการจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงเรียน เพื่อเป็นการโดยเสด็จพระราชกุศลด้วย และเมื่อการก่อสร้างโรงเรียนแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโรงเรียนเหล่านั้น พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า โรงเรียนร่มเกล้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งโรงเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา |
วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่3
เรียนที่ห้อง 234 อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คนแล้วให้สรุปงานที่แต่ละคนหามาเรื่องเกี่ยวกับคณิตศาสตร์คือ
ความหมายคณิตศาสตร์ ทฤษฎีการสอน หลักการสอนและขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์
1.ความหมายของคณิตศาสตร์
2.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
3.ขอบเขตคณิตศาสตร์
4.หลักการสอน
1.ความหมายของคณิตศาสตร์
2.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
3.ขอบเขตคณิตศาสตร์
4.หลักการสอน
วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่4
กิจกรรมการเรียนการสอน มีดังนี้
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ เป็น
คณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก
เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10
หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่
ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง
โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต
คุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง
และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า
6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ
ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5
แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง
เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูป
ทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว
ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม
สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง
ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก
และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด
ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน
9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว
มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต
หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน
ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม
แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน
การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ
ครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5
ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง
โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า
ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88)
ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา
เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
1.1 การจับคู่ 1 : 1
1.2 การจับคู่สิ่งของ
1.3 การรวมกลุ่ม
1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น
รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ
ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ
การเปรียบเทียบต่าง ๆ
เยาวพา เดชะคุปต์ (2542 . 87 - 88)
ได้ให้ความสำคัญของขอบข่ายคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย
โดยนำเสนอเนื้อหาการสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่ที่ครูควรศึกษา
เพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก ดังนี้
1. การจัดกลุ่มหรือเซต สิ่งที่ควรสอนได้แก่
1.1 การจับคู่ 1 : 1
1.2 การจับคู่สิ่งของ
1.3 การรวมกลุ่ม
1.4 กลุ่มที่เท่ากัน
1.5 ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวเลข
2. จำนวน 1 - 10 การฝึกนับ 1 - 10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3. ระบบจำนวน (Number System) และชื่อของตัวเลข 1 = หนึ่ง 2 = สอง
4. ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่าง ๆ เช่น เซตรวม การแยกเซต ฯลฯ (Union / Operation sets)
5. สมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม (Properties of Math)
6. ลำดับที่ ความสำคัญ และประโยคคณิตศาสตร์ ได้แก่ ประโยคคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงจำนวน ปริมาตร คุณภาพต่าง ๆ เช่น มาก - น้อย สูง - ต่ำ
7. การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เด็กควรสามารถวิเคราะห์ปัญหาง่าย ๆ ทางคณิตศาสตร์ทั้งที่เป็นจำนวนและไม่ใช่จำนวน
8. การวัด (Measurement) ได้แก่ การวัดสิ่งที่เป็นของเหลว สิ่งของ เงินตรา อุณหภูมิ ฯลฯ รวมถึงมาตราส่วนและเครื่องมือในการวัด
9. รูปทรงเรขาคณิต ได้แก่ การเปรียบเทียบรูปร่าง ขนาด ระยะทาง เช่น
รูปสิ่งของที่มีมิติต่าง ๆ จากการเล่มเกม และจากการศึกษาถึงสิ่งที่อยู่รอบ ๆ
ตัว10. สถิติและกราฟ ได้แก่ การศึกษาจากการบันทึก ทำแผนภูมิ
การเปรียบเทียบต่าง ๆ
วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่2
อาจารย์แจกกระดาษ A4 แล้วให้แบ่งกัน 4 คน โดยให้วาดภาพที่เป็นสัญลักษณ์แทนชื่อตนเองไว้ด้านบน และเขียนชื่อจริง+นามสกุลไว้ใต้ภาพ
-การเชื่อมโยงจากภาพ รูปทรง จำนวน จัดหมวดหมู่ ขนาด
-การเชื่อมโยงจากภาพ รูปทรง จำนวน จัดหมวดหมู่ ขนาด
-การนับ คนที่มาก่อนเวลา 08.30 น. มีจำนวน 19 คน
-การนับเพิ่ม (การบวก)
-การนับลด(การลบ)
-อาจารย์ได้ให้งาน โดยไปหาหนังสือคณิตศาสตร์
-จดชื่อหนังสือ
-จดชื่อหนังสือ
-ผู้แต่ง
-ปีที่พิมพ์
-เลขรหัสหนังสือ
จำนวน 5 เล่ม และใน 5 เล่มนั้น
เลือกมา 1
เล่ม
เอาเลขที่หน้า,บรรณานุกรม,ปีที่พิมพ์,สำนักพิมพ์
ตามหัวข้อดังนี้
1.ความหมายของคณิตศาสตร์
2.ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
3.ขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์
4.หลักการสอน
วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
บันทึกครั้งที่ 1
อาจารย์ย้ายมาเรียนที่ตึกคณะ ห้อง224 จากนั้นอาจารย์ได้สร้างข้อตกลงการเรียนการสอน วางวัตถุประสงค์ การแต่งกายในการมาเรียนการจัดประสบการณ์ จะเป็นการคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การศึกษาปฐมวัยจะใช้ การสอนว่า การจัดประสบการณ์ อาจารย์ให้เขียนว่า รู้อะไรบ้างเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ ให้เขียนมา 1 ประโยคข้าใจความหมายว่าจะสอนอย่างไร กับเด็กปฐมวัยในเรื่องคณิตศาสตร์ ของชื่อวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การจัดกิจกรรม ควรจัดให้ครบทั้ง 6 กิจกรรม เช่น
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมบทบาทสมมุติ
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
กิจกรรมตามมุม เป็น กิจกรรมเสรี
กิจกรรมวงกลม เป็น กิจกรรมเสริมประสบการณ์
กิจกรรมเครื่องเล่นสนาม เป็น กิจกรรมกลางแจ้ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)