วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย เรื่องที่5

 การศึกษาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นปฐมวัย จากการสอนแบบมอนเคสซอรี่
                       
                       ปริญญานิพนธ์
                          ของ
                       รัชนี  เวชปาน

ความหมาย
   ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง พัฒนาการระดับหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียน เรียนคณิตศาสตร์ได้โดยมีอุปสรรค์ต่างๆ ไม่มากนัก หรือสามารถเรียนได้ในอัตราเร็ว ซึ่งเป็นอัตราปกติสำหรับเด็กทั่วไป พัฒนาการดังกล่าวนี้มาจากมีวุฒิภาวะ หรือจากการเรียนรู้ที่ผ่านมา หรือเกิดจากอิทธิพลของทั้งสองประกอบกัน เช่น ความสามารถในการฟัง ความสามารถในการสังเกตภาพที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ความคิดรวบยอดทางจำนวน เป็นต้น
จุดมุ่งหมาย
1. เกิดความคิดรวบยอดของวิชาคณิตศาสตร์
2. มีความสามารถในการแก้ปัญหา
3. มีทักษะหรือวิธีการในการคิดคำนวน
4. สร้างบรรยายกาศในการคิดอย่างสร้างสรรค์
5. ส่งเสริมความเป็นเอกัตบุคคลในตัวเด็ก
องค์ประกอบ
องค์ประกอบของความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์มีองค์ประกอบต่างๆ6ด้านคือ
1. ความเข้าใจในการฟัง
2. การจำแนกภาพที่คล้ายคลึงกัน
3. ความคิดรวบยอดเกี่บวกับจำนวน
4. การรู้ความหมายของคำต่างๆ
5. ความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อกันสายตา
6. การทำตามคำสั่ง
สรุปได้ว่า แนวแนวทการส่งเสริมความพร้อมทางคณิศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นครูจะต้องศึกษาหลักสูตร ศึกษาพัฒนาการของเด็ก เข้าใจธรรมชาติของเด็ก เพื่อจัดกิจกรรมให้สนองความต้องการและความสามารถของเด็กแต่ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรโดยจัดหาสื่อที่เป็นรูปธรรมสอนเรื่องง่ายๆ จากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเด็กให้เด็กมีส่วนรวมในกิจกรรมให้ลงมือปฏิบัติจับต้อง สัมผัส ไม่นำเรื่องที่ซับซ้อนเกินกว่าที่เด็กจะเข้าใจมาสอน

สรุปงานวิจัย เรื่องที่4

      การวิเคราะห์แบบฝึกความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   
                   ปริญญานิพนธ์
                      ของ
                 อรสิริ    วงศ์สิริศร

ความมุ่งหมาย
       เพื่อศึกษาลักษณะของแบบฝึก เนื้อหา ความรู้ที่ปรากฏโดยจำแนกตามทักษะและความสอดคล้องของเนื้อหากับจุดประสงค์ของแนวการจัดประสบการณ์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ความสำคัญ
ผลการวิเคราะห์ลักษณะของแบบฝึก เนื้อหา และความสอดคล้องของเนื้อหากับจุดประสงค์ของแนวการจัดประสบการณ์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ จะเป็นแนวทางแก่ครูปผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย และให้สามารถเลือกใช้ และผลิตแบบฝึกความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ตรงกับจุดประสงค์ของการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับเด็กปฐมวัยต่อไป
อภิปรายผล
1.ลักษณะของแบบฝึกความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.เนื้อหาแบบฝึก
3.ความสอดคล้องของเนื้อหาและจุดประสงค์
ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏในแบบฝึกความพร้อมด้สนอื่นๆ เช่น ความพร้อมทางภาษาไทย ความพร้อมทางการเรียน ความพร้อมทางศิลปะ เป็นต้น
2. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้แบบฝึกความพร้อมด้านต่างๆ ในการศึกษาปฐมวัย
3.ควรมีการวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสียของการใช้แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย เรื่องที่3

ศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย จาการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านไทย
                
       ปริญญานิพนธ์
            ของ
     กัณย์ณพัชร   อินทจันทร์

ความมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ช่วงก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทย
2.เพื่อการเปรียบเทียบผลของการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทย
สรุปผลการวิจัย
  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้สนการเปรียบเทียบ และการสังเกตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ระดับชั้นอนุบาล2 หลักการจัดประสบการณืการเล่นพื้นบ้านไทย อยู่ในระดับปานกลางและสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับเรียนด้ที่รับการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านไทย เมื่อพิจารณาแล้วปรากฎว่าทุกคนมีคะแนนทักษะทางคณิตศาสตร์ในด้านการสังเกตและเปรียบเทียบ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
ข้อเสนอแนะ
  ในารศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทย สำหรับการฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ ด้านการสังเกต และการเปรียบเทียบของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดัยบเรียนได้ เพื่อเป็นการพัมนาความสามารถของเด็กควรมีการจัดกิจกรรมดังนี้
   ควรมีการจัดประสบการณ์การเล่ในเด็กกลุ่มอื่นที่มีความต้องการพิเศษหรือสำหรับเด็กที่ปัญหาทางการเรียนรู้ เพื่อส่งผลให้เกิดทักษะทางการเรียนรู้มากขึ้น

สรุปงานวิจัย เรื่องที่2

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน


              ปริญญานิพนธ์
                   ของ
            จิตทนาวรรณ    เดือนฉาย

   การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบทักษะพื้นบานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักาะพื้นทางคณิตศาสาตร์ในระดับต่ำ  ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจีดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน และกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะในห้องเรียนแบบปกติ เพื่อเป็นแนวทางให้แก้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน เพื่อการพัมนาเด็กในระดับนี้ต่อไป
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใระดับต่ำ
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน
อภิปรายผล
1. เด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียนกับเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพในห้องเรียนแบบปกติ
สรุปผลการศึกษา
1. เด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
2. เด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพในห้องเรียนแบบปกติ มีทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

สรุปงานวิจัย เรื่องที่1

   ผลการจัดกิจกรรมการเกษตรที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 
                                                            ปริญญานิพนธ
                            ของ
                                                                             ทัศนีย์   การเร็ว

                 วิจัยครั้งนี้   เป็นวิจัยเชิงทดลอง (Experimentar Research)เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลการจัดกิจกรรมการเกษตรที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ซึ่งมีลำดับขั้นของการวิจัยและผลโดยสรุปดังนี้
ความมุ่งหมายของวิจัย
  1. เพื่อการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตร
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตรก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
สรุปผลการวิจัย
 1. จากการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตรโดยรวมและรายทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเกษตร
2. ทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตรโดยรวมและรายทักาะกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
อภิปรายผล
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายสำคัญเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเกษตรเด็กปฐมวัยมีทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายทักษะสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเกษตรช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการเรียงลำดับ และทักษะการวัด


 

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่16

 

การเรียนการสอน

 
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhohnAm6f7RDY5fMZ8WJWTsITmcRyp6rHpknKErxuFT6hyphenhyphen7Fzg2nbHfxFTtlRYndfTD6avKvIfiohPibs8AasP1_WcwLmAMKUZtffekirap4DFpqZeGrqvhCRDx_tpp9e28VfC7-MNyL1u_/s300/img004.jpg
 
 
 
 
วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนออกมาสอบสอนต่อ โดยกลุ่มที่สอบสอนวันนี้ มีหน่วย ไข่ กับการทำอาหาร





และกลุ่มที่สอง คือ หน่วยไข่จ๋า มีการยกตัวอย่างคือ นำไข่ของจริงมาประกอบ เช่น ไข่นกกระทา ไข่ไก่ เป็นต้น


วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่15

      วันนี้เพืี่่อนได้สอบสอนเป็นกลุ่มแรก อาจารย์ได้อธิบายรายละเอียดของกลุ่มเพื่อนที่สอบสอน ให้เข้าใจ และแนะนำการสอนว่ามีหน่วยไหนที่ต้องแก้ไขปรัปปรุงบ้าง
@เครื่องมือในการเรียนรู้ คือ ภาษาและคณิตศาสตร์ เป็นทักษะที่สำคัญเพื่อจะเรียนรู้ในระดับต่อไป

 หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ คือสิ่งที่อยู่รอบตัวเราเป็นวิทยาศาสตร์



     - บางหน่วยการเรียนรู้ในหัวข้อ ของเรายังไม่ตรงกัน หน่วยของประเภท มีความสอดคล้องกับ ชนิดและลักษณะ จึงทำให้หน่อย ไม่ค่อยมีความใกล้เคียงกับชื่อหน่วย ต้องไปปรับแก้

       - ในเรื่องประโยชน์และโทษ ของสัตว์ บางครั้งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสาระหรืมาตรฐานทางคณิตศาสตร์ เราสามารถปรับโดยการใช้นิทานมาแทนในการสอน


       - โฟมที่นำมาใช้สอน เราใชไม้ไอติมในการทำสื่อตัวสัตว์ ซึ่งต้องปรับไม้ไอติม ไม่ามารถปักลงบนกระดานโฟมได้ ควรเปลี่ยนเป็นไม้เสียบลูกชิ้น                                

      - การสอนควรเริ่มจากการขยายวงกว้างๆ ในเรื่องป่า แล้วเริ่มแคบลงมาโดยการหยิบยกตัวอย่าง เช่นสัตว์ที่เรานำมา หรือสัตว์ที่เรามี                                
      - การจัดระบบความคิดของเด็ก  การบ่งสัตว์ ตามประเภท ชนิด ลักษณะ ตามถินที่อยู่อาศัย

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่14

อาจารย์ถามถึงเรื่องกิจกรรม ทั้ง 6 กิจกรรม คือ

   - กิจกรรมเสริมประสบการณ์
   - กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
   - กิจกรรมเกมการศึกษา
   - กิจกรรมเสรี
   - กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
   - กิจกรรมกลางแจ้ง


การจัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก โดยปกติ จะมี

-เข้าแถว
-เคลื่อนไหว
-ดื่มนม
-ศิลปะ
-เสริมประสบการณ์
-กลางแจ้ง
-กินข้าว
-นอน
-เกมการศึกษา

- อาจารย์ให้นำแผนมานำเสนอโดยการสอนให้เพื่อนๆดู

กลุ่มที่1 นำเสนอการแผนสอน หน่วยครอบครัว

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่13


ศักยภาพ ว่าปฐมวัย มีศักยภาพที่จะจัดทำอะไรบ้าง ช่วยกันระดมความคิด

          - บทบาทสมมุติ
          -  เต้น
          -  เล่นเกม
          - นิทรรศการสื่อ
          - ร้องเพลง
          - เล่นดนตรี
          - งานศิลปะ
          - เล่านิทาน 
          - รำ
          - นิทานเวที
-จำนวนทั้งหมดที่พวกเราได้ช่วยกันระดมความคิด มีทั้งหมด 10 อย่างด้วยกัน การที่เราจะรู้ได้ว่า มีจำนวนทั้งหมดเท่าไหร่นั่น เราต้องอาศัยในเรื่องการนับ ซึ้งการนับ จัดอยู่ใน สาระที่ 1 การนับและการดำเนินการ การนับ สามารถใช้แทนค่าโดยการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งตัวเลขทางคณิตศาสตร์ เวลาจัดเรียงมักใช้ตัวเลข ฐานสิบ และใช้ตัวเลข ฮินดูอาราบิก ในการแทนค่า

สาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์


1. จำนวนและตัวเลข
       1.1 การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
       1.2 การนับ
       1.3 การใช้ตัวเลข
       1.4 การจัดลำดับจำนวน
2. การจัดกระทำกับจำนวนนับ และศูนย์
       2.1 การเพิ่มการบวก
       2.2 การหักออก การลบ
       2.3 การคูณ
      2.4 การหาร
3. จำนวนตรรกะ
     3.1 เศษส่วน
     3.2 ทศนิยม
     3.3 จำนวนคู่ จำนวนคี่
     3.4 พหุคูณ และตัวประกอบ
     3.5 จำนวนเฉพาะ
4. การวัด
     4.1 ความยาว
     4.2 ความกว้าง
     4.3 ความสูง
     4.4 น้ำหนัก
     4.5 ปริมาตร
     4.6 เวลา
     4.7 เงิน
5. เรขาคณิต
6. การแก้ปัญหา
     6.1 ความน่าจะเป็น
     6.2 การจำแนกประเภท
    6.3 ความคล้ายและความต่าง
    6.4 ความสัมพันธ์บางส่วน – ทั้งหมด
    6.5 การทำการแก้ปัญหา

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่12

เนื้อหาการเรียน

-ส่ง Mind map หน่วยการเรียนรู้ ที่อาจารย์ให้ทำ อาจารย์ดูงานและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
-อาจารย์สอนเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้และมาตรฐาน
 

  แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์



งานที่อาจารย์มอบหมาย
-อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มเขียนแผนการสอน กลุ่มละ 5 คน ให้เขียนแผนการสอน วันจันทร์- วันศุกร์ โดยดูเนื้อหาและหน่วยจาก มายแม็บที่อาจารย์ให้ทำครั้งที่แล้ว และครั้งหน้าให้ออกมาสอนให้เพื่อนๆดู


วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่11

      
      เข้าร่วมกิจกรรมวันครู ของคณะศึกษาศาสตร์ ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ 



วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่10

การเรียนการสอน


-อาจารย์สอนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์พร้อมยกตัวอย่าง
-อาจารย์สอนเรื่องมาตรฐานและการเขียนและการใช้แผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
-อาจารย์สอนเทคนิคการนำเอาสื่อต่างๆ รอบตัวมาประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น ปฏิทิน

  

 งานที่อาจารย์มอบหมาย
   
-ทำ Mind mapแตกสาระการสอนคณิตศาสตร์ปฐมวัย เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน หน่วยการสอนอะไรก็ได้ตามต้องการ ส่งคราวต่อไป


 

วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่9

                                    การเรียนการสอน

เรียนเรื่องมาตรฐาน
สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง







                                                         



 *ฏิทินการเพิ่มจำนวนในแต่ละวัน
คุณครูสร้างขึ้นมาเองได้..และเขียนเพิ่มวันที่
ในแต่ละวันจะทำให้เด็กๆรู้และเขียนได้โดย
ที่ไม่ต้องเอาปฏิทินมาวงเพราะจะทำให้เด็กรู้ตัวเลขล่วงหน้าแล้ว





                                                        



สาระที่ 3 : เรขาคณิต

มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง

มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ

สาระที่ 4 : พีชคณิต

มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกียวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ

สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์