วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย เรื่องที่5

 การศึกษาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ชั้นปฐมวัย จากการสอนแบบมอนเคสซอรี่
                       
                       ปริญญานิพนธ์
                          ของ
                       รัชนี  เวชปาน

ความหมาย
   ความพร้อมทางคณิตศาสตร์ หมายถึง พัฒนาการระดับหนึ่งที่จะช่วยให้นักเรียน เรียนคณิตศาสตร์ได้โดยมีอุปสรรค์ต่างๆ ไม่มากนัก หรือสามารถเรียนได้ในอัตราเร็ว ซึ่งเป็นอัตราปกติสำหรับเด็กทั่วไป พัฒนาการดังกล่าวนี้มาจากมีวุฒิภาวะ หรือจากการเรียนรู้ที่ผ่านมา หรือเกิดจากอิทธิพลของทั้งสองประกอบกัน เช่น ความสามารถในการฟัง ความสามารถในการสังเกตภาพที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ความคิดรวบยอดทางจำนวน เป็นต้น
จุดมุ่งหมาย
1. เกิดความคิดรวบยอดของวิชาคณิตศาสตร์
2. มีความสามารถในการแก้ปัญหา
3. มีทักษะหรือวิธีการในการคิดคำนวน
4. สร้างบรรยายกาศในการคิดอย่างสร้างสรรค์
5. ส่งเสริมความเป็นเอกัตบุคคลในตัวเด็ก
องค์ประกอบ
องค์ประกอบของความพร้อมทางการเรียนคณิตศาสตร์มีองค์ประกอบต่างๆ6ด้านคือ
1. ความเข้าใจในการฟัง
2. การจำแนกภาพที่คล้ายคลึงกัน
3. ความคิดรวบยอดเกี่บวกับจำนวน
4. การรู้ความหมายของคำต่างๆ
5. ความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อกันสายตา
6. การทำตามคำสั่ง
สรุปได้ว่า แนวแนวทการส่งเสริมความพร้อมทางคณิศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยนั้นครูจะต้องศึกษาหลักสูตร ศึกษาพัฒนาการของเด็ก เข้าใจธรรมชาติของเด็ก เพื่อจัดกิจกรรมให้สนองความต้องการและความสามารถของเด็กแต่ต้องสอดคล้องกับหลักสูตรโดยจัดหาสื่อที่เป็นรูปธรรมสอนเรื่องง่ายๆ จากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเด็กให้เด็กมีส่วนรวมในกิจกรรมให้ลงมือปฏิบัติจับต้อง สัมผัส ไม่นำเรื่องที่ซับซ้อนเกินกว่าที่เด็กจะเข้าใจมาสอน

สรุปงานวิจัย เรื่องที่4

      การวิเคราะห์แบบฝึกความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                   
                   ปริญญานิพนธ์
                      ของ
                 อรสิริ    วงศ์สิริศร

ความมุ่งหมาย
       เพื่อศึกษาลักษณะของแบบฝึก เนื้อหา ความรู้ที่ปรากฏโดยจำแนกตามทักษะและความสอดคล้องของเนื้อหากับจุดประสงค์ของแนวการจัดประสบการณ์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
ความสำคัญ
ผลการวิเคราะห์ลักษณะของแบบฝึก เนื้อหา และความสอดคล้องของเนื้อหากับจุดประสงค์ของแนวการจัดประสบการณ์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของแบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนี้ จะเป็นแนวทางแก่ครูปผู้ปกครอง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาปฐมวัย และให้สามารถเลือกใช้ และผลิตแบบฝึกความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ตรงกับจุดประสงค์ของการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพกับเด็กปฐมวัยต่อไป
อภิปรายผล
1.ลักษณะของแบบฝึกความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2.เนื้อหาแบบฝึก
3.ความสอดคล้องของเนื้อหาและจุดประสงค์
ข้อเสนอแนะ
1.ควรมีการวิเคราะห์เนื้อหาที่ปรากฏในแบบฝึกความพร้อมด้สนอื่นๆ เช่น ความพร้อมทางภาษาไทย ความพร้อมทางการเรียน ความพร้อมทางศิลปะ เป็นต้น
2. ควรมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้แบบฝึกความพร้อมด้านต่างๆ ในการศึกษาปฐมวัย
3.ควรมีการวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสียของการใช้แบบฝึกความพร้อมทางคณิตศาสตร์

วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย เรื่องที่3

ศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปฐมวัย จาการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านไทย
                
       ปริญญานิพนธ์
            ของ
     กัณย์ณพัชร   อินทจันทร์

ความมุ่งหมาย
1. เพื่อศึกษาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ช่วงก่อนและหลัง การจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทย
2.เพื่อการเปรียบเทียบผลของการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทย
สรุปผลการวิจัย
  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ด้สนการเปรียบเทียบ และการสังเกตของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับเรียนได้ ระดับชั้นอนุบาล2 หลักการจัดประสบการณืการเล่นพื้นบ้านไทย อยู่ในระดับปานกลางและสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับเรียนด้ที่รับการจัดประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านไทย เมื่อพิจารณาแล้วปรากฎว่าทุกคนมีคะแนนทักษะทางคณิตศาสตร์ในด้านการสังเกตและเปรียบเทียบ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
ข้อเสนอแนะ
  ในารศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นการจัดประสบการณ์การเล่นพื้นบ้านไทย สำหรับการฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์ ด้านการสังเกต และการเปรียบเทียบของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดัยบเรียนได้ เพื่อเป็นการพัมนาความสามารถของเด็กควรมีการจัดกิจกรรมดังนี้
   ควรมีการจัดประสบการณ์การเล่ในเด็กกลุ่มอื่นที่มีความต้องการพิเศษหรือสำหรับเด็กที่ปัญหาทางการเรียนรู้ เพื่อส่งผลให้เกิดทักษะทางการเรียนรู้มากขึ้น

สรุปงานวิจัย เรื่องที่2

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม ศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน


              ปริญญานิพนธ์
                   ของ
            จิตทนาวรรณ    เดือนฉาย

   การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงทดลอง มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบทักษะพื้นบานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักาะพื้นทางคณิตศาสาตร์ในระดับต่ำ  ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจีดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน และกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะในห้องเรียนแบบปกติ เพื่อเป็นแนวทางให้แก้ครูและผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน เพื่อการพัมนาเด็กในระดับนี้ต่อไป
จุดมุ่งหมาย
1. เพื่อการเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใระดับต่ำ
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน
อภิปรายผล
1. เด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียนกับเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพในห้องเรียนแบบปกติ
สรุปผลการศึกษา
1. เด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ  ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพนอกห้องเรียน มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
2. เด็กปฐมวัยที่มีคะแนนทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในระดับต่ำ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะวาดภาพในห้องเรียนแบบปกติ มีทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

สรุปงานวิจัย เรื่องที่1

   ผลการจัดกิจกรรมการเกษตรที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
 
                                                            ปริญญานิพนธ
                            ของ
                                                                             ทัศนีย์   การเร็ว

                 วิจัยครั้งนี้   เป็นวิจัยเชิงทดลอง (Experimentar Research)เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลการจัดกิจกรรมการเกษตรที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  ซึ่งมีลำดับขั้นของการวิจัยและผลโดยสรุปดังนี้
ความมุ่งหมายของวิจัย
  1. เพื่อการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตร
  2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตรก่อนและหลังการจัดกิจกรรม
สรุปผลการวิจัย
 1. จากการศึกษาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตรโดยรวมและรายทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเกษตร
2. ทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเกษตรโดยรวมและรายทักาะกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
อภิปรายผล
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดหมายสำคัญเพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเกษตรเด็กปฐมวัยมีทักาะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายทักษะสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเกษตรช่วยส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายทักษะ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการเปรียบเทียบ ทักษะการเรียงลำดับ และทักษะการวัด